Games News

“นวราตรี 2566” เปิดวิธีบูชา-ช่องทางชมถ่ายทอดสดพิธีกรรม

0 0
Read Time:6 Minute, 41 Second

นวราตรี (Navaratri) ถือเป็นเทศกาลอันยิ่งใหญ่ ที่ชาวฮินดูและเหล่าผู้ศรัทธาทั่วโลกจะจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่เพื่อเทิดพระเกียรติ “พระแม่ทุรคา” (ปางหนึ่งของพระแม่อุมาเทวี) มหาเทวีแห่งอำนาจวาสนาและบารมีอันสูงสุดเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน ตามปฏิทินฮินดู ซึ่งจะตรงกับเดือนกันยายน-ตุลาคมของไทยในทุก ๆ ปี โดยในปีนี้จะตรงกับวันที่ 15-24 ตุลาคม 2566

“งานนวราตรี 2566” ตรงกับวันไหน เช็กประวัติ-กำหนดการวัดแขกสีลม ที่นี่!

เปิดปฏิทินวันหยุดตุลาคม 2566 เช็กวันหยุดราชการ-วันสำคัญ

รู้จัก พระแม่ทุรคา

พระแม่ทุรคา เป็นเทวีแห่งความมั่งคั่ง ความเจริญรุ่งเรือง และสุขภาพดี

พระแม่เป็นอวตารภาคหนึ่งของ “พระแม่ปารวตี” (ที่เรารู้จักกันว่า พระแม่อุมาเทวี) มเหสีของพระศิวะ

สำหรับที่มาในการเทิดพระเกียรตินี้ ตามตำนานเล่าว่า ในกาลหนึ่ง “มหิงสาสูร” อสูรที่ทรงพลังอำนาจมากที่สุดและไม่มีเทพเจ้าองค์ใดทำลายลงได้ ออกก่อกวนเหล่าทวยเทพต่าง ๆ ทำให้เหล่าทวยเทพเดือดร้อน จึงได้ไปเข้าเฝ้า “พระแม่ทุรคา” ขอให้ทรงช่วย

จากนั้นเทพต่าง ๆ ก็ได้มอบอาวุธที่ทรงอำนาจให้กับพระแม่ เมื่อมีอาวุธครบครัน พระแม่ก็สามารถปราบอสูรร้ายลงได้ โดยใช้เวลา 9 วัน 9 คืน (นวราตรี)และในวันที่ 10 คือวันที่พระแม่ได้รับชัยชนะ (วิชัยทัสมิ)ซึ่งเป็นที่มาของจำนวนวันในการเทิดพระเกียรตินี้ด้วย

และสถานที่ที่มหิงสาสูรสิ้นชีพนั้น เดิมคือเมือง มหิศปุระ (Mahishpur) ปัจจุบันคือ เมืองไมซอร์ (Mysore) ชาวไมซอร์จึงมีการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้อย่างยิ่งใหญ่สนุกสนาน

การบูชาเทศกาลนวราตรีที่บ้าน

การบูชาในเทศกาลนวราตรี จะมีการบูชาพระแม่ทุรคา (Durga) พระแม่ลักษมี (Lakshmi) และ พระแม่สรัสวตี (Saraswati) หรือศักติ”ซึ่งหมายถึง พลังหรืออำนาจในเก้ารูปแบบ

พิธีนี้เป็นพิธีเก่าแก่ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระเวท จัดขึ้นเป็นเวลา 2 ครั้งต่อปีในช่วงต้นฤดูร้อน และต้นฤดูหนาว แต่ในช่วงต้นฤดูหนาวได้รับความนิยมมากกว่าและจะจัดพร้อมกันทั่วโลกโดยจะมีขบวนแห่ด้วยคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

ส่วนในการบูชาที่บ้าน สำหรับผู้ศรัทธาที่อาจเดินทางไม่สะดวกในการไปเทวสถาน จะใช้วิธีการไหว้แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเช่นเดียวกับโบสถ์พราหมณ์

โดยในช่วงสามวันแรกจะเป็น พิธีปลุกพระแม่ทุรคา (Durga)” เทวีแห่งพลังอำนาจขึ้นมา เพื่อมากำจัดสิ่งเลวร้ายไม่บริสุทธิ์ต่างๆ

จากนั้นเทวีที่ได้รับการบูชาต่อมาคือ พระแม่ลักษมี (Lakshmi)” ผู้ที่จะมอบความมั่งคั่งให้กับผู้ที่บูชา

ในช่วงสามวันสุดท้ายเป็นการบูชา พระแม่สรัสวดี (Saraswati)” เทวีแห่งสติปัญญา ชาวฮินดูเชื่อว่า เพื่อที่จะได้รับพรครบในทุกด้าน จำเป็นที่จะต้องบูชาพระแม่ทั้งสามพระองค์ต่อเนื่องกัน 9 วัน

แนะนำว่าสำหรับใครที่มีเทวรูปหรือรูปบูชาของพระแม่ทั้ง 3 องค์ อยากให้นำมาตั้งยังแท่นประทับที่เตรียมไว้ตลอดทั้ง 9 วันที่เฉลิมฉลอง จากนั้นให้ถวายผลไม้ ดอกไม้ ขนมหวาน แด่รูปเทวี และร้องเพลงสวดบาจัน (bhajans) เพื่อสรรเสริญพระแม่ รวมถึงถือศีลกินมังสวิรัติตลอดเทศกาล

ของไหว้-บทสวด "ศักติ"

พระแม่ทุรคา

ของไหว้

  • ดอกไม้ ทรงโปรดสีเหลืองและสีแดง ได้แก่ ดอกดาวเรือง, ดอกกล้วยไม้ และ ดอกกุหลาบ ฯลฯ
  • ขนมที่ปราศจากเนื้อสัตว์และไม่มีกลิ่นหอมแรงเกินไป ได้แก่ ขนมโมทกะ และ ขนมลาดู ฯลฯ
  • ธัญพืชและผลไม้สามารถถวายได้ทุกชนิด แต่ที่นิยมถวาย ได้แก่ มะพร้าว เนื่องจากเป็นผลไม้ที่อยู่สูง มีความสะอาดบริสุทธิ์, กล้วย, ส้ม, อ้อย, มะม่วงสุก, แอปเปิ้ล และ มะละกอ ฯลฯ

บทสวด

ทุกครั้งจะต้องสวดมนต์ต่อพระพิฆเนศก่อนเสมอ

โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา(สามจบ)

จากนั้นตามด้วยบทสวดของพระแม่ทุรคา โดยสามารถเลือกสวดบทใดบทหนึ่งหรือจะทั้งหมดเลยก็ได้

โอม ไจ มาตา ดี(สามจบ)

โอม ชยะ ศรี ปารวตี มาตา(สามจบ)

โอม ศรี มหา อุมาเทวะไย นะมะห์(สามจบ)

โอม โรคา นะเศษา นะปะหัมสิตุษฎา รุษตาตุกามาน สะกะลา นะภีษะตาน ตะวามา ศะริตานาม นะวิปัน นะรานาม ตะวามา ศะริตายา ศะระยะตาม ประยันติ

พระแม่ลักษมี

ของไหว้

  • ดอกไม้ ทรงโปรดดอกไม้สีชมพู ได้แก่ ดอกบัว และ ดอกกุหลาบ ฯลฯ
  • ขนมที่ปราศจากเนื้อสัตว์และไม่มีกลิ่นหอมแรงเกินไป ได้แก่ ขนมเพชร, ขนมอาลัวสวรรค์ และ ขนมดอกบัว ฯลฯ
  • ธัญพืชและผลไม้สามารถถวายได้ทุกชนิด แต่ที่นิยมถวาย ได้แก่ มะพร้าว เนื่องจากเป็นผลไม้ที่อยู่สูง มีความสะอาดบริสุทธิ์, กล้วย, ส้ม, อ้อย, มะม่วงสุก, แอปเปิ้ล และ มะละกอ ฯลฯ

บทสวด

ทุกครั้งจะต้องสวดมนต์ต่อพระพิฆเนศก่อนเสมอ

โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา(สามจบ)

จากนั้นตามด้วยบทสวดของพระแม่ลักษมี โดยสามารถเลือกสวดบทใดบทหนึ่งหรือจะทั้งหมดเลยก็ได้

โอม ชยะ ศรี ลักษมี มาตา(สามจบ)

โอม ศรี ลักษะมิไย นะมะห์(สามจบ)

โอม มหาลักษะ มิไย นะโม นะมะห์ โอม วิษณุ ปรียาไย นะโม นะมะห์ โอม ธะนะ ประทาไย นะโม นะมะห์ โอม วิศวา จะนันไย นะโม นะมะห์”

ยา เทวี สะระวะ ภูเตชุ ลักษมี รูเปนะ สัม สะถิตา นะมัส ตัสไย / นะมัส ตัสไย / นะมัส ตัสไย นะโม นะมะห์

โอม ไชยะ ปัทมา วิศาลักษิ ไชยะ ตวัม ศรี ปติ ปริเย ไชยะ มาตา มหาลักษมี สะมะ สะระณะ วันณะวะ ธาระนี

พระแม่สรัสวดี

ของไหว้

  • เครื่องหอมที่ถวาย ควรมีกลิ่นแก่นจันทน์ ไม้จันทน์ กลิ่นกฤษณา กลิ่นดอกบัว หรือกลิ่นมะลิ
  • ขนมที่ปราศจากเนื้อสัตว์และไม่มีกลิ่นหอมแรงเกินไป เช่น ขนมโมทกะ และ ขนมลาดู ฯลฯ
  • ธัญพืชและผลไม้สามารถถวายได้ทุกชนิด แต่ที่นิยมถวาย ได้แก่ มะพร้าว เนื่องจากเป็นผลไม้ที่อยู่สูง มีความสะอาดบริสุทธิ์, กล้วย, ส้ม, อ้อย, มะม่วงสุก, แอปเปิ้ล และ มะละกอ ฯลฯ

บทสวด :

ทุกครั้งจะต้องสวดมนต์ต่อพระพิฆเนศก่อนเสมอ

โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา(สามจบ)

จากนั้นตามด้วยบทสวดของพระแม่สรัสวดี โดยสามารถเลือกสวดบทใดบทหนึ่งหรือจะทั้งหมดเลยก็ได้

โอม ชยะ ศรี สรัสวตี มาตา (สามจบ)

โอม ศรี สรัสวะติไย นะมะห์ (สามจบ)

โอม สรัสวตี นะมัส ตุภะยัม วาระเท กามะรูปินี วิทยา รัมภัม กะริชยามิ สิทธิ ภะวะตุ เม สะทา

ช่องทางถ่ายทอดสดบูชาในเทศกาลนวราตรี

สำหรับใครที่อยากร่วมสวดมนต์หรือประกอบพิธีร่วมกับพราหมณ์ไปด้วย ทางนิวมีเดีย พีพีทีวี ได้รวบรวมช่องทางยอดนิยม ในการชมถ่ายทอดสดพิธีบูชานวราตรีประจำปี 2566 มาฝากทุกคนกัน

เฟซบุ๊ก Hindu Meeting (Facebook)

เฟซบุ๊กถ่ายทอดสดพิธีกรรมนวราตรีของวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก สีลม) ที่จะมีการถ่ายทอดสดพิธีบูชาตลอดเทศกาลทุกวัน ทั้งเช้าและเย็น ตามกำหนดการของเทวสถาน

คลิกชมถ่ายทอดสดที่นี่

เฟซบุ๊ก Hindu Samaj Bangkok วัดเทพมณเทียร สมาคมฮินดูสมาช

เฟซบุ๊กของวัดเทพมณเทียร เทวสถานอีกแห่งหนึ่งในการกราบบูชาเทพเจ้าฮินดูที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทย ที่จะมีการถ่ายทอดสดพิธีบูชาตลอดเทศกาลทุกวัน โดยมีกำหนดการดังต่อไปนี้

  • วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม 2566

เวลา 06.15 น. จะเริ่มบูชาเพื่ออัญเชิญพระแม่กาลี พระแม่ลักษมีและพระแม่สุรัสวดี และมีการบูชากลัช

เวลา 07.45 น. จะมีพิธีสวดมนต์ขององค์หนุมาน ตามด้วยสวดมนต์ขององค์พระแม่

  • วันจันทร์ที่ 16-23 ตุลาคม 2566

เวลา 06.15 น. จะมีพิธีสวดมนต์บูชาองค์พระแม่ตามธรรมเนียมปฏิบัติของทางวัด

คลิกชมถ่ายทอดสดที่นี่

เทศกาลนวราตรีถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับครอบครัวและเพื่อน ๆ ที่จะมาพบปะร่วมกันกราบไหว้พระแม่ทั้ง 3 พระองค์ (ศักติ)หรืออวยพร สังสรรค์กัน อีกทั้งยังเชื่อกันอีกว่าหากใครจะเริ่มลงทุนธุรกิจใหม่ ในยามนวราตรีนี้ถือเป็นฤกษ์มงคลที่ดีที่สุดที่จะเริ่มการลงทุนด้านธุรกิจใหม่ ๆ อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก :เฟซบุ๊ก Hindu Samaj Bangkok วัดเทพมณเทียร สมาคมฮินดูสมาชและ สยามคเณศ

ขอบคุณภาพจาก : ShutterStock

ตรวจหวยงวดนี้ – ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ลอตเตอรี่ 16/10/66

ตรวจผลออกรางวัลสลากออมสินพิเศษ 1 ปี งวดวันที่ 16 ตุลาคม 2566

ยืนยัน ซูเปอร์แอปฯ เสร็จทันแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

About The Author